ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก หมู่ที่ 4 ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง 21120 โทรศัพท์ : 0-3864-2365, 0-3864-2366, 0-3864-2357,0-3864-2675

X ปิด
แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด




สารบรรณ

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลาง เพื่อการสื่อสารในภาครัฐ

localmooc

ศาลปกครอง

ปราบปรามทุจริต



ระบบจัดการเว็บไซต์

ศูนย์ดำรงธรมม

แบบประเมินความพึงพอใจ

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 30/10/2563
วันนี้
12
เมื่อวานนี้
452
เดือนนี้
6,362
เดือนที่แล้ว
4,629
ปีนี้
14,592
ปีที่แล้ว
41,686
ทั้งหมด
92,501
ไอพี ของคุณ
3.239.117.1

1
บ่อน้ำ วังสามพญา,องค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก,nonglalok.go.th

บ่อน้ำวังสามพญาที่อยู่ภายในวัดละหารไร่ ม.8 ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ 1 ใน 60 จังหวัด 60 แหล่งน้ำที่ทางจังหวัดระยอง เตรียมทำพิธีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรนบดินทรเทพยวรางกูร โดยเตรียมประกอบพิธีกรรมดังกล่าว
ขึ้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2562 จะมีการประกอบพิธีทำน้ำอภิเษกและพิธีเวียนเทียนสมโภชน์น้ำอภิเษกก่อนจะนำน้ำเข้าร่วมพิธีอภิเษกพร้อมกันกับอีกอีก 60 แหล่งน้ำต่อไป
ทั้งนี้จังหวัดระยอง ได้มีการประกอบพิธีกรรมนำน้ำจากแหล่งน้ำนี้ไปใช้ในพิธีกรรมน้ำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีการต่างๆ มาแล้ว ประกอบด้วยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2530 ประกอบพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ ถวายเป็นน้ำอภิเษกในพะราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอยดุลเดช และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ประกอบพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554
สำหรับ บ่อน้ำวังสามพญาแห่งนี้ แต่เดิมเป็นวังลึก มีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม น้ำใสแลมีความเย็นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากรอบๆ บริเวณมีต้นไม้ประเภทเถาวัลย์ปกคลุมวังนี้ จากการบอกเล่าได้กล่าวว่า ในปลายกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้เดินทัพผ่านมาทางทุ่งละหารใหญ่และแวะพักไพร่พลช้างม้า ณ บริเวณนี้ เพื่อให้ไพร่พลได้พักผ่อนก่อนเข้าตีเมืองระยอง ในระหว่างที่ไพร่พลพัก พลช้างได้นำช้างศึกลงอาบน้ำบริเวณบึงใหญ่ที่มีน้ำใต้ดินไหลซึมอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้บริเวณบึงเดิมนั้นกว้างใหญ่ขึ้น ภายหลังชาวบ้านจึงเรียกบึงนี้ว่า
“วังสามพญา” หมายถึง วังที่ช้างศึกของพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ลงเล่นน้ำนั้นเอง

18 พฤศจิกายน 2563

วัดละหารไร่(หลวงปู่ทิม อิสริโก),องค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก,nonglalok.go.th

     ประวัติ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ ท่านเกิดวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2422 โยมบิดาชื่อ แจ้ โยมมารดาชื่อ อินทร์ พอหลวงปู่ทิมท่านอายุได้ 17 ปี โยมบิดาก็ได้นำตัวไปฝากกับท่านพ่อสิงห์ ที่วัดได้เล่าเรียนหนังสือกับพ่อท่านสิงห์เป็นเวลาหนึ่งปี ก็สามารถเรียนรู้เข้าใจอ่านออกเขียนได้ แล้วโยมบิดาจึงมาขอลาหลวงปู่ทิมให้กลับมาช่วยทำงานที่บ้าน พออายุครบบวชหลวงปู่ทิมท่านจึงได้อุปสมบท ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2449 ที่ วัดระหารไร่ โดยมีพระครูขาว วัดทิมมา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์เกตุเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อท่านบวชแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัด 1 พรรษา จึงได้ขออนุญาตพระอาจารย์ออกธุดงค์ไปหลายจังหวัดเป็นเวลา 3 ปี พอใกล้เข้าพรรษาท่านก็ได้กลับมาที่วัด ตลอดเวลาที่หลวงปู่ทิมท่านธุดงค์ไปนั้น ท่านก็ได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆ ทั้งกับพระภิกษุและกับฆราวาส อีกทั้งยังได้ศึกษาตำราของหลวงปู่เฒ่าสังข์ ซึ่งเป็นปู่แท้ๆ ของท่าน ซึ่งเป็นพระปรมาจารย์ผู้เรืองเวทวิทยาคมอย่างยิ่งในสมัยนั้นต่อมาเมื่อ หลวงปู่ทิม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดระหารไร่ ท่านก็ได้ซ่อมแซมกุฏิและอื่นๆ อีกหลายอย่าง ด้วยความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อท่าน เมื่อท่านดำริว่าจะก่อสร้างพระอุโบสถก็สามารถสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยในระยะ เวลาเพียงหนึ่งปีเศษ ต่อมาท่านก็ได้ก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล โดยมีทางอำเภอและจังหวัดมาช่วย ใช้เวลาเพียง 8 เดือนก็แล้วเสร็จ สามารถเปิดให้นักเรียนได้เข้าเรียนได้ และท่านก็ยังชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันสร้างสะพานข้ามคลองอีกหลายแห่ง งานทุกอย่างก็สำเร็จเรียบร้อยทุกประการ เนื่องจากความเคารพเลื่อมใสของญาติโยมและชาวบ้านที่มีต่อหลวงปู่ทิม ประวัติพระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิมพิมพ์เศียรโต คาถาพระเครื่องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ คาถาขุนแผนหลวงปู่ทิม

     หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ท่านเป็นพระสมภะ ไม่ยินดียินร้ายกับลาภยศสรรเสริญ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวนเมื่อปี พ.ศ. 2478 ท่านก็ไม่ได้บอกใครและไม่ได้ไปรับจนทางจังหวัดได้มอบตราตั้งให้ทางอำเภอนำมา มอบให้ท่านที่วัด และเป็นพระครูทิม อิสริโก อยู่มาจนถึงปี พ.ศ. 2497 ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ท่านเลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร ท่านก็ไม่ยอมบอกใคร จนทางอำเภอได้ส่งหนังสือไปที่วัด ชาวบ้านจึงได้รู้กันและได้จัดขบวนแห่มารับท่านไปรับสัญญาบัตรพัดยศ ที่เจ้าคณะจังหวัด และได้เป็นพระครูภาวนาภิรัต เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ประวัติหลวงปู่ทิม วัดช้างให้ ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว

     เมื่อหลวงปู่ทิม ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ พระครูภาวนาภิรัต แล้วบรรดาศิษยานุศิษย์จึงได้ประชุมกัน ขออนุญาตหลวงปู่ทิม จัดงานฉลองสมณศักดิ์ให้กับท่าน เพื่อให้ญาติโยมได้มีโอกาสแสดงความยินดีและแสดงความกตัญญูกตเวทิตา ที่ หลวงปู่ทิมท่านได้มีเมตตาต่อเหล่าลูกศิษย์ หลวงปู่ทิมจึงขัดไม่ได้ นายสาย แก้วสว่าง ในฐานะไวยาวัจกรและศิษย์ใกล้ชิดจึงได้นัดประชุมกรรมการและชาวบ้าน ปรึกษากันว่าจะจัดฉลองสมณศักดิ์และเพื่อหารายได้สบทบทุนในการก่อสร้างกุฏิ และบูรณะซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดในครั้งนี้ โดยจะขออนุญาต หลวงปู่ทิมเพื่อจัดทำเหรียญรูปเหมือนของท่าน เอาไว้แจกแก่พวกญาติโยมและศิษย์ทั้งหลาย เพื่อเป็นที่ระลึกในการร่วมกันทำบุญในงานวันฉลองสมณศักดิ์ของท่าน เพราะใครๆ ก็ย่อมทราบกันดีอยู่แล้วว่า หลวงปู่ทิมเป็นพระที่น่าเคารพบูชาอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรมพระวินัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพระมักน้อยสมถะ ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น

     หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ท่านฉันอาหารเพียงมื้อเดียวเท่านั้น และเป็นอาหารมังสวิรัติ หลวงปู่ทิม ท่านไม่ฉันพวกเนื้อสัตว์ แม้ในยามปัจฉิมวัยที่ท่านอาพาธท่านก็ยังปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย เคร่งครัดรักษาศีล ยึดมั่นพระธรรมวินัย เท่าที่สังเกตดูปรากฎว่า ท่านจะฉันเช้าประมาณ 7 โมงเช้า และฉันน้ำชาเวลา 4 โมงเย็น ถ้าเลยเวลาแล้วหลวงปู่จะไม่ยอมฉันเป็นเด็ดขาด แม้แต่น้ำชา ท่านฉันมื้อเดียวมาตลอด 50 ปีแล้ว โดยที่ไม่มีอาหารพวกเนื้อหมู เป็ด ไก่ หรืออาหารคาวทุกชนิดเลย แม้แต่น้ำปลาก็ไม่เคยฉัน อาหารที่หลวงปู่ทิม ท่านฉันก็เป็นพวกผัก ถั่ว หรือเส้นแกงร้อน น้ำพริกกับเกลือป่น เป็นประจำอยู่เป็นนิจตลอดมา เนื้อหนังมังสาและผิวพรรณของท่านก็คงเป็นปกติอยู่ตามเดิม พละกำลังของ หลวงปู่ทิมท่านก็แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะอำนาจบารมีของท่านที่เคยได้สร้างสมมาในชาติปางก่อน จึงทำให้ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดและบริสุทธิ์ในธรรมวินัย ดำรงชีวิตมาได้อย่างแข็งแรงและสมบูรณ์ หลวงปู่ทิม ท่านยังแข็งแรงสมบูรณ์ เดินไปไหนมาไหนได้สะดวก ท่านสายตาดีมากยังมองอะไรได้ชัดเจนดี ฟันก็ไม่เคยหักแม้แต่ซี่เดียว ถึงแม้ว่าอายุของท่านเกือบจะ 100 ปีแล้วก็ตาม จนท่านมรณภาพลงด้วยอาการสงบ ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2518 หน้าหอสวดมนต์ วัดระหารไร่ สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 69

14 พฤศจิกายน 2563

สวนสุภัทราแลนด์,องค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก,nonglalok.go.th

     ตั้งอยู่เลขที่ 70 หมู่ 10 ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง บนทางหลวงหมายเลข 3143 โดยมีคุณสุวัฒน์ และคุณสุภัทรา ฟ้าประทานชัย เป็นเจ้าของ ได้เริ่มซื้อสวน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2515 เนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ ด้วยใจรักในงานด้านเกษตร และเพื่อเป็นที่พักผ่อน

     ในช่วงแรกผลผลิตส่วนใหญ่ส่งขายในตลาดใกล้เคียง และส่วนหนึ่งเป็นของฝากหน่วยงานที่ทำธุรกิจร่วมกัน ต่อมาเจ้าของสวนบริเวณใกล้เคียงได้เสนอขายที่ดินให้กับคุณสุวัฒน์ ซึ่งผลไม้อื่นทดแทนพื้นที่ดังกล่าว โดยในระยะแรกเริ่มต้นด้วยการปลูก ทุเรียน มังคุด เงาะ   แต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ต่อมาในปีพ.ศ. 2539ได้เปิดให้หน่วยงานราชการและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพารา กระทั่งในปีพ.ศ.2538 ราคายางพาราตกต่ำประกอบกับขาดแรงงานในการกรีดยาง จึงต้องทำการโค่นต้นยางออก แล้วปลูกเกษตรกรที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงาน โดยการเดินชมและมีเจ้าหน้าที่บรรยายให้ความรู้        สวนสุภัทราแลนด์ได้เปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.2540โดยใช้รถไถพ่วงกับรถราง ช่วงแรกจะเปิดให้บริการเฉพาะฤดูผลไม้ ( พฤษภาคม–มิถุนายน) หลังจากนั้นได้ทำการปรับปรุงขยายพื้นที่ปลูกผลไม้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเฉพาะทุเรียน มังคุด เงาะ เพิ่มเป็น องุ่น ขนุน ลำไย มะเฟือง มะพร้าว ลองกอง สละ แก้วมังกร ชมพู่ เป็นต้น ซึ่งสวนสุภัทราแลนด์เป็นแหล่งรวบรวมไม้ผลเมืองร้อนไว้มากถึง 25 ชนิดบนเนื้อที่ 800 ไร่ เพื่อให้มีผลไม้ออกตลอดทั้งปี   โดยยึดหลักการท่องเที่ยวคือ แหล่งเรียนรู้ ดูและชิม อิ่มคุณภาพ เที่ยวได้ทั้งปี  และได้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวมาจนถึงปัจจุบัน

     ลักษณะการท่องเที่ยว  คือ นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถบริการชมสวน ภายใต้บรรยากาศที่ร่มรื่น ผสมผสานกับการจัดสวนได้อย่างสอดคล้องลงตัว และรถไฟแต่ละคันจะมีวิทยากรแนะนำให้ความรู้ และข้อมูลเกี่ยวกับสวน

     ส่วนฤดูกาลผลไม้จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน  –  เดือนมิถุนายน ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีผลไม้ออกมาพร้อมกันมากที่สุด ทั้งนี้ทางสวนสุภัทรา ยังได้รับรางวัลอีกมากมายเช่นตัวอย่างรางวัลกินรี ซึ่งเป็นรางวัลที่แสดงให้เห็นว่าสวนสุภัทราของเราเป็นที่ท่องเที่ยวที่มีคุณภาพที่อยากให้นักท่องเที่ยวมาลองเที่ยวชมดู

     สวนสุภัทราแลนด์ได้เปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ.2540โดยใช้รถไถพ่วงกับรถราง ช่วงแรกจะเปิดให้บริการเฉพาะฤดูผลไม้ ( พฤษภาคม–มิถุนายน) หลังจากนั้นได้ทำการปรับปรุงขยายพื้นที่ปลูกผลไม้เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเฉพาะทุเรียน มังคุด เงาะ เพิ่มเป็น องุ่น ขนุน ลำไย มะเฟือง มะพร้าว ลองกอง สละ แก้วมังกร ชมพู่ เป็นต้น ซึ่งสวนสุภัทราแลนด์เป็นแหล่งรวบรวมไม้ผลเมืองร้อนไว้มากถึง 25 ชนิดบนเนื้อที่ 800 ไร่ เพื่อให้มีผลไม้ออกตลอดทั้งปี   โดยยึดหลักการท่องเที่ยวคือ แหล่งเรียนรู้ ดูและชิม อิ่มคุณภาพ เที่ยวได้ทั้งปี  และได้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวมาจนถึงปัจจุบัน

14 พฤศจิกายน 2563

1

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1  (3 รายการ)